ปิด จันทร์ - อังคาร

เปิดรับสมัคร – มหัศจรรย์หนังพี้ 2567

 

ทำไมมหัศจรรย์หนังพี้

หนังพี้คืออะไร?

 

นั่นคือคำถามแห่งวัน ขณะที่เรานั่งเรียงดูหนังที่ส่งมาทั้งหมด  คำตอบไม่ใช่แค่วิกฤตหนุ่มเซอร์

หรือ ภาพจิตหลอนและบทสนทนาที่แปลกแยก แล้วเราก็เข้าใจว่า สิ่งที่ทำให้หนังเรื่องใดเรื่องหนึ่ง

เป็นหนังพี้ คือ มิติของความเป็นจริง  การเฝ้าสังเกตการณ์จากระยะห่างๆ

จะเรียกว่าการปล่อยวางแบบเซนก็ได้

เราอาจไม่เห็นกัญชาบนจอในหนังทุกเรื่อง หรือมีเนื้อหาเกี่ยวข้องวัฒนธรรมกัญชาชน

แต่สิ่งที่ทุกเรื่องมีเหมือนกันหมดคือ รสชาติและมิติของสัจธรรมกัญชา

(ซึ่งสามารถทำให้ผู้ป่วยมะเร็ง บางรายถึงกับไม่ชอบ เพราะหาว่ามันดลใจให้ยอมรับความจริง

ในการเกิดแก่เจ็บตาย)

สาระสำคัญก็คือ : หากว่ามิติความเป็นจริงตามบรรทัดฐานของโลการ่วมสมัย

อันเต็มไปด้วยการทิ่มแทงกันด้วยความจริงที่บิดเบือนนั้นกำลังเสียสติอย่างเห็น

ได้ชัด เหล่าศิลปิน นักทำหนัง และคอหนัง ก็ย่อมมีสิทธิ – ที่จริงต้องว่ามีหน้าที่ปฏิบัติธรรม

– ในการกัดเซาะ หรือแม้กระทั่งปาภาพลวงตาสุดทนุถนอมนั้นลงกับพื้นให้แตกเป็นเสี่ยงๆ

รักคือคำตอบทุกสิ่ง

ดร.อลิศ  กินเห็ด
ผู้จัดโปรแกรม
มหัศจรรย์หนังพี้ที่ซิเนม่าโอเอซิส

__________________________________________________________________________

สถานการณ์ล่าสุด มิถุนายน 2566

ยามนั้นกัญชายังผิดกฎหมายอยู่ในเมืองไทย  เมื่อมูลนิธิซิเนม่าโอเอซิสเพื่อเสรีภาพในการแสดงออกทางศิลปะและภาพยนตร์  จัดเทศกาลหนังพี้ครั้งแรกระหว่างวันที่ 8 – 11 สิงหาคม 2562  ท่ามกลางความกังวลถึงผลพวงที่อาจตามมา

แต่ว่าราวปาฏิหาริย์  ไม่มีตำรวจบุกเข้ามาปิดเทศกาลและโรงหนังซิเนม่าโอเอซิส  (ซึ่งถ้ามีก็ไม่ใช่ครั้งแรกที่เราโดนคำสั่งและการคุกคามลักษณะนี้)  ทั่วงาน  เราติดป้าย “ถ้าคุณจุด เราก็ดับ”  ซึ่งผู้คนก็ช่วยกันเคารพ  เพื่อให้เทศกาลหนังพี้ดำเนินไปได้โดยสวัสดิภาพ  และโชคดีที่เป็นเช่นนั้น  ต้องขอบคุณความใจกว้างของเจ้าหน้าที่และความน่ารักของผู้ชม

ต่อมา  การแพร่ระบาดของโควิดทำให้เกิดคำสั่งปิดโรงหนังทั่วโลก  รวมทั้งซิเนม่าโอเอซิส  เทศกาลหนังพี้ครั้งที่ 2 จึงต้องเลื่อนออกไปจนวันที่ 10 – 13 พฤศจิกายน 2565 ในบรรยากาศที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง  เนื่องจากรัฐบาลไทยภายใต้นายกประยุทธ์ จันทร์โอชา  ได้ยกเลิกสถานภาพยาเสพติดผิดกฎหมายของกัญชาไปแล้วในระหว่างนั้นทั่วประเทศ

เพื่อเฉลิมฉลองข่าวน่ายินดีอันเหลือเชื่อนี้  นอกเหนือจากรอบฉายในโรงภาพยนตร์ตามปกติ  เราติดตั้งอีกจอหนึ่งในโถงชั้นล่าง  พร้อมหมอนนั่งและเสื่อหลากสีรายรอบ  เพื่อบันดาลให้เกิดการฉายหนังกลางแปลงในสวน ขนาบข้างโดยเพิงออกร้านกัญชาชั้นนำสองเพิง  (โดยที่เพิงใต้ต้นโพธิ์เป็นของ Sagar Singh Siravaman ศิษย์เก่ามหิดล ผู้กำกับ ‘ออนซ์ละ 3 หมื่น’ หนังพี้สั้นยอดเยี่ยมชนะรางวัลบ้องแก้วครั้งแรก) ท่ามกลางบรรยากาศแสนสุขของเทศกาลหนังพี้ที่ 2

น่าเสียดายว่าบรรยากาศแห่งเสรีภาพนี้กำลังถูกคุกคามโดยผลการเลือกตั้งครั้งล่าสุดในประเทศไทย  ซึ่งชนะโดยบรรดาพรรคการเมืองที่ปฏิญาณว่าจะทำให้กัญชากลับไปผิดกฎหมาย  ยิ่งไปกว่านั้น  ได้มีการประกาศ ‘สงครามยาเสพติด’ ครั้งใหม่  โดยพรรคนักการเมืองที่เคยทำสงครามยาเสพติดสังหารผู้คนไปกว่า 2,000 คน ในประเทศไทยในปี 2547

ความไม่แน่นอนและความหวาดกลัวที่กำลังก่อเกิดขึ้น  พาให้ผู้หวังดีหลายท่านออกมาเตือนว่าควรเลื่อนเทศกาลหนังพี้ที่ 3 ไปก่อน  “จนกว่าจะปลอดภัย”

คำถามคือว่า  กี่ครั้งที่เราเชื่อฟังคำแนะนำที่ดูเหมือนชาญฉลาดและสมเหตุผล  เพียงเพื่อที่จะพบเมื่อสายไปแล้วว่า  เราแค่เปิดทางสะดวกให้แก่ผู้กดขี่เสรีภาพของเรา?

โลกยิ่งน่ากลัว  เรายิ่งกลัวไม่ได้  การเฉลิมฉลองกัญชา  ในฐานะส่วนที่ศักดิ์สิทธิ์และสำคัญของวัฒนธรรมไทยดั้งเดิม  จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นยิ่งในเวลานี้  เราไม่ยอมก้มหัวมุดกลับเข้าไปหลบๆ ซ่อนๆ ในตู้   

การเรียกเปิดรับสมัครหนังพี้เข้าประกวดครั้งนี้  จึงเป็นเสมือนการระดมพลท้าทายอยุติธรรม

ในปี 2562 รางวัลกัญชาทองคำสำหรับหนังพี้ยอดเยี่ยม  ตกเป็นของ ‘ซูเปอร์ไซโคเซบู’ โดยผู้กำกับ คริสเตียน ลินาบาน  จากฟิลิปปินส์

มาปี 2565 หนังพี้กังฟูจากบราซิล ‘เดอะ สโมค มาสเตอร์’ เป็นหนังพี้ยอดเยี่ยมที่ชิงรางวัลกัญชาทองคำ  กำกับโดย องเดร ซิกวอล์ท และ ออกุสโต ซวาเรส  ในขณะที่ ‘เฟซทูเฟซ’ โดยผู้กำกับ มาฮูคู ฟลอรองท์ จากคองโกชนะรางวัลบ้องแก้ว

ใครจะเป็นผู้ชิงกัญชาทองคำ และเงินสด 1,000 ดอลล่าร์สหรัฐ ในเทศกาลหนังพี้ที่ 3?  ใครจะชนะรางวัลเบบี้กัญชาทองคำและเงินสด 5,000 บาท  สำหรับหนังพี้สั้นยอดเยี่ยม?

อาจเป็นคุณกับหนังพี้ของคุณก็ได้!

…………………………………

รางวัลหนังพี้ยอดเยี่ยม – โล่ใบกัญชาทองคำ + 30,000 บาท

รางวัลหนังพี้สั้นยอดเยี่ยม – เบบี้กัญชาทองคำ + 5,000 บาท

หนังที่ได้รับเลือกเข้าประกวด  จะเปิดตัวฉายใน
.

มหัศจรรย์เทศกาลหนังพี้

7-10 พฤศจิกายน 2567
.
โดยเริ่มรับสมัคร ตั้งแต่ เมษายน 2567

เส้นตาย : 15 กันยายน 2567

เราอยากดูหนังของคุณมากๆ!!!

 

ข้อมูลส่งไฟล์

Screening Format :  HD/ DCP/หรือ ฟอร์แมตอื่นๆ ยกเว้น ฟิล์ม 16 และ 35 มม.

ค่าธรรมเนียมการส่งผลงาน : 500 บาท / 1 เรื่อง
.

ไม่จำเป็นต้องกรอกใบสมัครแบบฟอร์มใดใด  แต่กรุณาส่งรายละเอียดเบื้องต้นให้ครบ (ชื่อคนผลิต, ชื่อหนัง, ความยาว, ฟอร์แมต,เรื่องย่อ และที่อยู่เบอร์ติดต่อ)

กรุณาส่ง มาที่ :

มูลนิธิซิเนม่าโอเอซิส (ประกวดหนังพี้)

เลขที่ 4  สุขุมวิท 43  กรุงเทพฯ 10110

Email : cinemaoasis.bk@gmail.com

…………………………………